วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 27 มกราคม พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30


เนื้อหาที่เรียน

การนำเสนอ 
- การใช้โทนเสียง
- บุคคลิกภาพ
-ให้ความสนใจผู้ฟัง
- การเว้นวรรคคำ
- การสรุปใจความ ประเด็นที่สำคัญ
- การใช้ ร ล
- คำทักทาย

เทคนิคการจัดประสบการณ์
- นิทาน
- เพลง
- เกม
- คำคล้องจอง
- ปริศนาคำทาย
- บทบาทสมมุติ
- แผนภูมิภาพ
- การประกอบอาหาร

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นให้เด็กก่อน แล้วจึงจะจัดอันดับ การรวมตัวเป็นการนับจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น

สาระที่2 การวัด
การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน เช่น การใช้นิ้ว มือ ฝามือ ศอก เชือก การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน เช่น มือ การทำคาน หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียนเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ

สาระที่3 เราขาคณิต
ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ระหว่า ซ้าย ขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่บอกตำแหน่ง ทิศทาง การจำแนกทรงของวงกลม ทรงสี่เหลี่ยม กรวย จะใช้วิธีพิจารณารูปร่าง

สาระที่4 พีชคณิต
แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิตหรือสิ่งต่างๆ

สาระที่5 การวิเคราะห์จข้อมูล และความน่าจะเป็น
การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถาม นำเสนอเป็นรูปภาพหรือกราฟ

สาระที่6 ทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์
             มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

  คำศัพท์
1.Learning สาระการเรียนรู้
2.Measuring การวัด 3.Geometry เรขาคณิต 4.Skills ทักษะ 5.Between ระหว่าง

ประเมิน
 ประเมินตนเอง : ตอบคำถาม ตั้งใจฟังอาจารย์ ที่มอบหมายงานให้ จดบันทึกประเด็นที่สำคัญ
 ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคน แสดงความคิดเห็นและช่วยกันตอบคำถาม
 ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายและได้มอบหมายงานให้กับนักศึกษาอย่างละเอียด

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

สรุปบทความ



ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กอนุบาล

สรุปบทความ

เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กอนุบาล

หัวข้อที่ต้องเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนวัยเรียน

ก่อนที่จะเข้าโรงเรียนอนุบาล เด็กที่เข้าเรียนในโครงการการศึกษาล่วงหน้านั้นควรได้เรียนหัวข้อต่อไปนี้
  • การใช้ตัวเลขแทนจำนวนสิ่งของ
  • การใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน และสัญลักษณ์แทนตัวเลข
  • การใช้คำศัพท์เพื่อนับเลขจาก 1-10 และถอยหลังจาก 10-1
  • การนับสิ่งของจาก 1-10
  • หลักการบวกและการลบโดยใช้สิ่งของ
  • หลักการของคำว่าไม่มี มีอีก น้อย มาก น้อยกว่า น้อยที่สุด มากกว่า และมากที่สุด
  • เรียกชื่อรูปทรงที่พบบ่อย เช่น วงกลม, สี่เหลี่ยมจัตุรัส, สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมผืนผ้า และการพบเห็นรูปทรงต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมเช่นรูปร่างของประตู ป้าย และของเล่น
  • แยกของตามขนาด รูปร่าง และสี
  • ทำตามคำสั่งง่าย ๆ เช่น “สี่เหลี่ยมสีแดง 1 อัน” หรือ “เอาสีเทียนสีฟ้าออก 1 แท่ง”

เมื่อไรที่เด็กก่อนวัยเรียนจะเริ่มพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์

เด็กแต่ละคนไม่ได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ได้เร็วเท่ากัน เหมือนกับในผู้ใหญ่ที่บางคนสามารถเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ได้เร็วกว่าคนอื่น ๆ แต่เด็กส่วนใหญ่ควรจะเริ่มพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ได้ตามช่วงอายุ
  • 2-3 ปี
  • 3-4 ปี
  • 5-6 ปี
       ช่วงเวลาก่อนวัยเรียนนั้นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของพัฒนาการเด็ก สิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ก่อนเข้าโรงเรียนนั้นอาจจะทำให้พวกเขาก้าวหน้าหรืออาจจะช้ากว่าเพื่อนคนอื่นในรุ่นเดียวกันได้ คุณควรให้ลูกของคุณได้เรียนรู้หัวข้อทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับวัยของพวกเขาโดยการสอบถามจากครูผู้สอนที่โรงเรียนหรือลองทบทวนทักษะต่าง ๆ ที่บ้าน หากลูกของคุณมีปัญหากับการเรียน ควรขอความช่วยเหลือทันที เพราะหากวินิจฉัยความผิดปกติของการเรียนรู้ได้เร็วเท่าไรก็จะยิ่งรักษาได้ดีขึ้นเท่านั้น

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 20 มกราคม พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30

เนื้อหาที่เรียน

     คณิตศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก คือ การเต้นของหัวใจที่สม่ำเสมอ เป็นคณิตศาสตร์เบื้องต้น

        สมองมีหน้าที่ซึมซับข้อมูลที่เรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือและเครื่องมือที่ใช้คือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำแล้วจะต้องมีความสุข เป็นการกระทำของเด็กการลงมือทำเองคือวิธีการเรียนรู้หรือเรียกสั้นๆว่า
 ''การเล่น" แล้วส่งไปประมวลผลเพื่อปรับโครงสร้างความรู้ใหม่

ทำไม? เด็กถึงสอบได้ และ สอบตก  มี 5 ปัจจัย
  
1. ครอบครัว คือการอบรมเลี้ยงดู
2. สภาพแวดล้อม คือเพื่อนข้างบ้านและเพื่อนในห้องเรียน
3. สุขภาพร่างกาย คือ พันธุกรรม โคโมโซม
4. เศรษกิจ คือ การเงิน ที่อยู่อาศัย
5. ค่านิยม คือวัฒนธรรม สังคม
    ดังนั้นเราจึงจะต้องให้โอกาสและทำให้เขาดีทึี่สุด
                                  
                                       ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์
บรูเนอร์ เชื่อว่าพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการภายในอินทรีย์เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก ซึ่งจะพัฒนาได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
         สำหรับในหลักการที่เป็นโครงสร้างของความรู้ของมนุษย์ บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการคิดในการเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้นด้วยกัน 
    ซึ่งคล้ายคลึงกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ได้แก่
                                1. ขั้นการกระทำ (Enactive Stage) เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส
                                2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ (Piconic Stage) เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจินตนาการด้วย
                                3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด (Symbolic Stage) เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความ สัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอด
    เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็น 

สรุป                       
  บรูเนอร์มีความเห็นว่าคนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจโดยผ่านกระบวนการที่เรียก ว่า  acting, imaging และ symbolizingเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิตมิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรกๆของชีวิตเท่านั้น

                                                        การบวกเลข 
สอนเรื่อง 1. การนับจำนวน
                2. ลำดับตัวเลข
              3. รู้รักตัวเลข
              4. การรวมของตัวเลข หรือการบวก

  คำศัพท์
1. Overlap การทับซ้อน
2. The education การศึกษา
3. brain สมอง
4. mathematics คณิตศาสตร์
5. To play การเล่น

ประเมิน
 ประเมินตนเอง : ตอบคำถาม ตั้งใจฟังอาจารย์ ที่มอบหมายงานให้ จดบันทึกประเด็นที่สำคัญ
 ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคน แสดงความคิดเห็นและช่วยกันตอบคำถาม
 ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายและได้มอบหมายงานให้กับนักศึกษาอย่างละเอียด

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2
วันจันทร์ ที่ 13 มกราคม พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30
เนื้อหาที่เรียน

     วันนี้อาจารย์ได้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของเด็ก จาก พ่อแม่ สิ่งแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู และคุณครู
การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม = การมีพัฒนาการ
   
    พัฒนาการ - การเจริญเติบโต 
                    - การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม = การเกิดการเรียนรู้

นิยามการพัฒนา
   ความสามารถของเด็กแต่ละช่วงอายุ

ลักษณะการพัฒนาการ
   การพัฒนาตามลำลับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องไม่ข้ามขั้นตอน
      คว่ำ   คืบ   คลาน   นั่ง   ยืน   เดิน   วิ่ง
การจัดประสบการณ์คือ  การที่เด็กใช้ประสาททั้ง 5 สัมผัส  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  มือ  และมีวิธีการต่างๆที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้

การทำงานของสมอง  ทำหน้าที่ซึมซับข้อมูลที่เรียนรู้ และนำมาปรับโครงสร้างความรู้ใหม่

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
        ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้ 
           พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้
1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
                - ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผล เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
                 - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ
3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)  เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)   เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่

  คำศัพท์
1. Recognition การรับรู้
2. Parenting การอบรมเลี้ยงดู
3. Behavior change การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
4. Interaction การมีปฏิสัมพันธ์
5. Absorption การซึมซับ


ประเมิน
 ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์ ที่มอบหมายงานให้ จดบันทึกประเด็นที่สำคัญ
 ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคน แสดงความคิดเห็นและช่วยกันตอบคำถาม
 ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายและได้มอบหมายงานให้กับนักศึกษาอย่างละเอียด
งดู

วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1




บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1
วันจันทร์ ที่ 6 มกราคม พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30
เนื้อหาที่เรียน

วันนี้อาจารย์ได้อธิบายการทำบล็อก และมอบหมายงานให้นักศึกษาไปค้นคว้างานที่อาจารย์กำหนดโดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้   
       * งานวิจัยเกี่ยกับการจัดการเรียนการสอนและการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       * บทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       * โทรทัศน์ครู

คำศัพท์
1. Learning การเรียนรู้
2.Thinking การคิด
3.The decision การตัดสินใจ
4. The analysis การวิเคราะห์
5.research วิจัย


ประเมิน
 ประเมินตนเอง:ตั้งใจฟังอาจารย์ ที่มอบหมายงานให้
 ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคน
 ประเมินอาจารย์:อาจารย์ได้อธิบายและได้มอบหมายงานให้กับนักศึกษาอย่างละเอียด