บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2
วันจันทร์ ที่ 13 มกราคม พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30
เนื้อหาที่เรียน
วันนี้อาจารย์ได้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของเด็ก จาก พ่อแม่ สิ่งแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู และคุณครู
การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม = การมีพัฒนาการ
พัฒนาการ - การเจริญเติบโต
- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม = การเกิดการเรียนรู้
นิยามการพัฒนา
ความสามารถของเด็กแต่ละช่วงอายุ
ลักษณะการพัฒนาการ
การพัฒนาตามลำลับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องไม่ข้ามขั้นตอน
คว่ำ คืบ คลาน นั่ง ยืน เดิน วิ่ง
การจัดประสบการณ์คือ การที่เด็กใช้ประสาททั้ง 5 สัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น มือ และมีวิธีการต่างๆที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
การทำงานของสมอง ทำหน้าที่ซึมซับข้อมูลที่เรียนรู้ และนำมาปรับโครงสร้างความรู้ใหม่
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้
1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผล เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ
3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่
คำศัพท์
1. Recognition การรับรู้
2. Parenting การอบรมเลี้ยงดู
3. Behavior change การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
4. Interaction การมีปฏิสัมพันธ์
5. Absorption การซึมซับ
ประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์ ที่มอบหมายงานให้ จดบันทึกประเด็นที่สำคัญ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคน แสดงความคิดเห็นและช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายและได้มอบหมายงานให้กับนักศึกษาอย่างละเอียด
งดู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น